วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

ส่งเอกสาร และสัมภาษณ์

เมื่อผู้เข้าสอบ สอบผ่านข้อเขียนแล้วขั้นตอนต่อไปคือการส่งเอกสาร ดิฉันส่งเอกสารวันที่ 29 มีนาคม 2555 เอกสารได้แก่
1. ใบสมัคร
2. บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ
3. บัตรข้าราชการ +สำเนา
4. สำเนาใบ กพ7 หน้าที่มีรายละเอียดการบรรจุ เงินเดือน (จะเป็นกระดาษแข็งๆ ไม่ต้องสำเนามาทั้งเล่ม)
5. ใบปริญญาบัตร+สำเนา (เฉพาะภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาอื่นให้คัดหรือจ้างเค้าแปลให้เรียบร้อย แต่ถ้าไม่มีจะเอาทรานสคริปแทนก็ได้แต่ไม่ต้องเอาไปทั้งหมดเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง)
6. หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา (ผกก.) แบบฟร์อมตามไฟล์แนบเลยค่ะ...
7. เอกสารอื่น เช่นใบเปลี่ยนชื่อ+สำเนา

หมายเหตุ! เอกสารที่เป็นสำเนาทุกแผ่นให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกใบ โดยรับรองเองเพราะเป็นเอกสารของเราทั้งหมด ไม่ต้องให้ใครเซ็นต์แทน เพราะบางคนใส่แฟ้มไปเสนอให้ ผกก.เซ็นต์

หลังจากส่งเอกสารแล้วอีก1 อาทิตย์ต่อมาก็เป็นการสอบสัมภาษณ์ มีรุ่นพี่รุ่นก่อนๆ บอกว่าคนที่ตกสัมภาษณ์คือคนเป็นใบ้ และคนที่ไม่ไปสอบเท่านั้น เพราะฉะนั้นการสอบสัมภาษณ์ให้เพื่อนๆ ทำใจให้สบายเหมือนเราไปนั่งคุยกับผู้ใหญ่ ใช้เวลาแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น ส่วนวิธีการสัมภาษณ์ก็แล้วแต่อาจารย์ผู้สัมภาษณ์ ยกตัวอย่างวิธีการสัมภาษณ์ และคำถามในการสัมภาษณ์
ระหว่างรอสัมภาษณ์จะมีเจ้าหน้าที่เอากระดาษมาให้อ่าน และบอกให้ท่องให้ได้ เพราะเข้าไปต้องรายงานตัวเป็นอย่างแรก ในกระดาษเขียนว่า
" ดิฉัน สิบตำรวจโทหญิง......ตำแหน่ง......สังกัด.....สมัครสอบสาย อก4 รหัสประจำตัวสอบ........สอบได้ลำดับที่....พร้อมที่จะรับการสัมภาษณ์แล้วค่ะ"
1. ให้เข้าสัมภาษณ์ทีละคน
2. ให้เข้าสัมภาษณ์ทีละหลายๆคน
3. ให้ทำท่าทางตามที่อาจารย์ผู้สัมภาษณ์สั่ง เช่น การเดิน การหันซ้าย หันขวา กลับหลังหัน วันทยาหัตถ์ เป็นต้น
4. ถามเกี่ยวกับงานสารบรรณ เช่น ชั้นความลับมีกี่ชั้น อะไรบ้าง และปกหนังสือลับถือเป็นชั้นความลับหรือไม่ เพราะอะไร (คำถามงานสารบรรณมักจะถาม สาย อก.ที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่)
5. ถามเรื่องการเกษียรหนังสือ (คำถามนี้เพื่อนถูกถามแต่จำไม่ได้ว่าถามว่าอะไร เพราะเพื่อนก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน)
6. คำถามไหนที่เราไม่ทราบจริงๆก็บอกว่าไม่ทราบ แต่ถ้าคำถามไหนที่พอจะรู้ก็ตอบไปเท่าที่รู้แต่ถ้าพอมีเหตุผลบอกได้ว่าทำไมไม่รู้จะดีมาก เช่นลักษณะงานอาจจะอยู่คนละส่วนงานกันเป็นต้น
7. หนึ่งคนจะถูกสัมภาษณ์คนละ1คำถาม แต่จะถูกชวนคุยเรื่องทั่วๆไป เช่นลักษณะงานที่เราทำ เป็นคนที่ไหน จะเลือกลงที่ไหน ถ้าไม่ได้ลงที่ที่เราคาดไว้จะสละสิทธิ์หรือไม่เป็นต้น

ส่วนดิฉันสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 5 เมษายน 2555 หลังจากกล่าวแนะนำตัวแล้ว คำถามในการสัมภาษณ์ คือ
อาจารย์ "เป็นคนที่ไหน แล้วนี่จะเลือกลงที่ไหน"
ดิฉัน "บ้านอยู่แพร่ค่ะ แต่คุณพ่อ คุณแม่อยู่สุโขทัย คิดว่าถ้ามีโอกาสจะเลือกลงภาค6 ที่พิษณุโลกค่ะ"
อาจารย์ "หน้าเด็กมากเลยนะ จะทำได้เหรอ เราต้องไปเป็นหัวหน้าเค้านะ ต้องสั่งลูกน้องด้วยนะแล้วลูกน้องก็อายุมากกว่าเราและอยู่มานานทั้งนั้น เช่น จ่า ดาบ"
ดิฉัน "ดิฉันมั่นใจว่าทำได้ค่ะ"
อาจารย์ "แล้วถ้าลูกน้องวางของไม่เป็นระเบียบ ทำงานไม่เรียบร้อย เราจะทำยังไง"
ดิฉัน "ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างค่ะ และคิดกิจกรรมมาให้ทำ เช่น 5ส."
อาจารย์ "5ส. มีอะไรบ้าง"
ดิฉัน "สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัยค่ะ"
อาจารย์ "เรียบร้อย ไปได้"
ดิฉัน "ขอบคุณค่ะ"

เป็นไงบ้างคะ ไม่ยากเลย อย่ากังวล! ทำใจให้สบายนะคะ
ปล. เอกสาร หรือขั้นตอนต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงให้เพื่อนๆ อ่านประกาศอย่างละเอียดนะคะ

สถานที่สอบ/การเข้าสอบ

ปกติถ้าไม่จัดศูนย์ฝึกเป็นสถานที่สอบ ก็จะจัดโรงเรียนประถม มัธยมที่สังกัดในจังหวัดที่ ศูนย์ฝึกแต่ละภาคตั้งอยู่เป็นสถานที่สอบ ถ้าผู้สอบมากอาจจัดให้มีหลายโรงเรียนเป็นสถานที่สอบก็ได้ เช่น ปี2555 ภาค6 สอบที่นครสวรรค์ ซึ่งจัดให้โรงเรียนมัธยมในจังหวัดเป็นสถานที่สอบ 2 โรงเรียน คือ.....
การเข้าสอบ ใส่ชุดพละ กางเกงวอม กางเกงกีฬา อาจไม่ใช่ผ้ากางเกงวอมก็ยด้ ไม่จำกัดเรื่องสี ใส่จสื้อยืดคอกลมสีอะไรก็ได้ ใส่รองเท้าผ้าใบแต่ก็ต้องถอดก่อนเข้าห้องสอบอยู่ดี ห้ามใส่เครื่องปรดับใด้ ห้ามเอามือถือเข้าแต่พกไปเถอะใส่กระเป๋าวางไว้หน้าห้องกรรมการไม่ว่าแค่ห้ามเอาเข้าห้องสอบ และปลอดภัยแน่นอนเพราะเค้าปล่อยเลิกสอบให้ออกพร้อมกันหมดด้านล่างตึกสอบมีเครื่องแสกนวัตถุให้เราลอดผ่าน สัญญาณดังที่ใครก็อกเข้าไปนะคะ ดังนั้นต้องเข้าไปอย่างไร้อาวุฒิ โลหะ วัตถุ ดินสอแนะนำ4b ไปเลย ฝนง่าย และเร็ว ยางลบกรรมการมีแจกไม่ต้องเอาไป อย่าลืมบัตรสอบกับบัตรข้าราชการ หัวกระดาษคำตอบเช็คให้ถูกทั้งเลขชุดและ รหัสประจำตัวสอบ ว่าเขียนถูกมั้ย ฝนตรงหรือเปล่าเพราะมีพี่ที่ทำงานคะแนนเป็น- หมด กรรมการไม่ตรวจข้อสอบเพราะฝนรหัสข้อสอบผิด เขียนเลข0 ไปฝนช่องเลข1 เพราะฉะนั้นระวังให้ดี

กรอกใบสมัคร

การเลือกที่ที่เราจะสมัคร มี3 ทางเลือก
1. มั่นใจว่าจะไปที่ไหนก็เลือกเลยอย่าได้ลังเล ไม่สำคัญเลยว่าจะรับจำนวนเท่าไหร่ เพราะถ้าคุณอยากกลับบ้านไปดูแลพ่อแม่ แต่ภาคที่คุณจะไปอยู่รับน้อยอัตรา แต่คุณดันไปเลือกลงภาคอื่นที่รับมากกว่าที่ไกลบ้านแต่รับเยอะ เพื่อหวังว่าอนาคตค่อนย้าย ขอบอกว่าการย้ายข้ามภาคไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
2. เลือกสมัครภาคที่รับเยอะเพราะมีโอกาสจะได้มากกว่า วิธีนี้ปัจจุบันนิยมกันมากเห็นได้จากตำรวจจากทางใต้มาสอบทางเหนือเยอะขึ้น วิธีนี้เสียตรงที่การย้ายข้าม บช. ค่อนข้างยาก ดังนั้นถาสอบได้และหวังจะย้ายกลับบ้านเกิด ควรเลือกตำแหน่งที่สังกัดภาคเลยเพราะจะกว้างขวาง รู้จักคนเยอะอาจแนะนำคุณได้ในอนาคต
3. การเลือกสมัครโดยดูจากอัตราส่วนการแข่ง วิธีนี้ต้องสมัครวันท้ายๆ เพราะในการสมัครแต่ละวันจะมีข้อมูลเล็ดลอดมาเสมอว่าตอนนี้ยอกผู้สมัครที่ไหนเท่าไหร่แล้วอัตราส่วนการแข่ง1: เท่าไหร่ เราก็เลือกสมัครลงที่ที่อัตราส่วนต่ำๆ เช่น 2:1 แสดงว่าคนสอบ2 คน เอา1 คน เราอาจมีสิทธิ์ได้ เป็นต้น แต่วิธีนี้ก็ค่อนข้างเสี่ยง คือ ถ้ามีคนคิดเหมือนเราเยอะแล้วมาสมัครวันสุดท้ายพร้อมกันหมด อัตราส่วนอาจสูงกว่าที่อื่นได้ และการเรียงลำดับผู้สอบได้ที่คะแนนเท่ากันนอกจากดูจากวิชาที่สอบแล้วก็จะดูจากวันเวลาสมัครด้วยใครสมัครก่อนก็จะมีสิทธิ์มากกว่านั่นเอง

เตรียมอ่านหนังสือ

สิ่งที่ต้องมีเพื่อเตรียมอ่านหนังสือ
1. ตัวบทฉบับเต็ม/ เนื้อหา
2. เทป/ซีดี/วีดีโอ บรรยายจากติวเตอร์ ( อาจได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น) ใช้ของเก่าจากรุ่นพี่ปีก่อนได้เพราะกฎหมาย/ ตัวบท/ เนื้อหา ไม่ค่อยเปลี่ยน ดิฉันเองยังฟัง mp3 บรรยายปี 2548-2552 เลย
3. ตัวอย่างข้อสอบ/ แนวข้อสอบ/ ข้อสอบสนามจริงปีก่อนๆ (ถ้าสามรถหาได้)
4. Mp3 ที่บรรจุข้อมูลได้มากกว่า4 GB และสามารถอัดเสียงเราลงไปได้ เพราะบางครั้งการอ่านออกเสียงจะช่วยในการจำได้มาก แต่ถ้าอ่านออกเสียงตลอดก็ไม่ไหว เหนื่อย เมื่อยปาก และทำไม่ได้ในที่สาธารณะ แต่ถ้าเราอัดเสียงเราลงไป พอมาเปิดฟังก็เหมือนเราอ่านออกเสียงนั่นเอง
5. เครื่องเล่น CD/DVD ( ถ้าสามารถหาได้ในกำลังทรัพย์ที่มี) หรือลำโพงคองซักชุดราคาคงไม่เกิน 500 บาท เอาไว้ต่อเข้ากับ mp3 เปิดให้ดังลั่นห้องไปเลย
6. สมุด 8 เล่ม หนาพอสมควร เขียนชื่อติดวิชาละเล่ม และปากกาไฮไล้

วิชาที่ใช้สอบ

วิชาที่ใช้สอบ มี 8 วิชา จำนวนข้อสอบ 120 ข้อ
แบ่งเป็น
1. งานสารบรรณ
2. ภาษาไทย
3. พรฎ
4. พรบ+กฎ กตร.(สืบสวน, จริยธรรม, ประเมิน)
5. ความลับ
วิชาหลักที่เราต้องอ่านและทำความเข้าใจให้มาก คือ ภาษาไทยและงานสารบรรณ เพราะถือว่าเป็นวิชาวัดกันเลยจะผิดกันเยอะก็2 วิชานี้เท่านั้นก็วัดกันว่าใครจะผิดมากผิดน้อย  ส่วนวิชาอื่นๆเป็นวิชาที่ห้ามผิดเลยเพราะถ้าบรรดากฏหมายก็ผิด ภาษาไทย สารบรรณก็ผิด จบ!! และวิชากฎหมายเป็นการออกข้อสอบตามตัวบทไม่มีพลิกแพลง

เราขาดอะไรบ้าง

            1. ขาดการแนะแนวค่ะ เพราะวิชาที่เราจะสอบมีมากถึง 8 วิชา รวมข้อสอบ 120 ข้อ และบางวิชาหรือกฏหมายบางตัวเราก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเรียนมาก่อน ยิ่งเวลาอ่านมีน้อยด้วยแล้วก็ยิ่งลนลานไม่รู้จะอ่านอะไรก่อน ไม่รู้ควรอ่านตรงไหน เริ่มตรงไหน ยังไง วิชาไหนควรอ่านก่อน วิชาไหนควรอ่านทีหลัง และประเด็นไหนสำคัญ ประเด็นไหนควรเน้นเป็นพิเศษ ข้อสอบมันจะออกมาแนวไหน ยังไง บางคนก็ตัดสินใจซื้อข้อสอบรวมมิตรแถวหน้าราม หรือตามร้านหนังสือบ้างมาอ่านเพราะคิดว่าคงอ่านอะไรไม่ทันแล้วนั่นเอง แต่ขอบอกเลยว่าข้อสอบพวกนั้นช่วยคุณได้ไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ เพราะบางสำนักก็เฉลยผิด บางสำนักก็ง่ายเกินไป เราสอบสัญญาบัตรนะคะ ไม่ใช่สอบประทวน ดังนั้นข้อสอบจะเน้นการวิเคราะห์เข้าไปในเนื้อหา
           2. เป็นผลมาจากข้อ 1.ค่ะ คือเมื่อไม่มีคนแนะนำ หรือแนะแนวทางให้ก็ทำให้อ่านหนังสือไม่เป็น สะเปะสะปะไปทั่ว ยิ่งเวลาน้อยก็ยิ่งจำไม่ได้เลย
           3. ไม่มีหนังสือ เนื้อหาหรือตัวบทอ่าน ไม่มีแนวข้อสอบสนามจริงมาทดลองทำ ซึ่งตรงนี้ก็สำคัญพวกตัวบทอาจหาง่ายตามร้านหนังสือ หรือ internet แต่แนวข้อสอบเก่าๆ อาจต้องอาศัยการส่งมอบจากรุ่นพี่ที่ใจดีทั้งหลาย หรืออาจหาโหลดจาก internet ก็ได้
           4. สุดท้ายคือขาดเพื่อน เพื่อนจะช่วยเราทบทวนความจำที่ดีที่สุด เวลาที่เราอ่านหนังสือไม่เสมอไปที่เราจะตีความถูก ถ้าเราไม่คุยกับคนอื่นจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่เราคิดว่าถูกจริงๆ มันถูกจริงๆหรือเปล่า! ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงของเพื่อนดิฉันเองที่ตีความกฎหมายผิดเพียงแค่คำว่า " ....ก็ได้" เช่น "ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 33 บอกว่า การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลขาวสารลับผู้ดำเนินการจะจัดทำโดยใช้รหัสลับก็ได้" โจทย์ถามว่าข้อใดถูก 
-ก. การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารลับผู้ดำเนินการอาจไม่ใช้รหัสลับได้
-ข. การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลขาวสารลับผู้ดำเนินการทำโดยผ่านรหัสลับเท่านั้น
-ค. การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลขาวสารลับผู้ดำเนินการทำโดยไม่ต้องใช้รหัสลับ
-ง. การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารลับผู้ดำเนินการอาจมอบหมายใครทำก็ได้
!!! บางคนเห็นโจทย์นี้รีบตอบ ข้อ ข. เลยทันที นั่นหมายถึงการตีตัวบทไม่เคลียร์ พลาดคำว่า " ก็ได้" คำว่าก็ได้จริงๆหมายถึง จะมีหรือไม่ก็ได้ จะทำหรือไม่ทำก็ได้นั่นเอง ดังนั้นข้อสอบข้อนี้ที่ถูกต้องตอบข้อ ก.การสำเนา การแปลเอกสาร การเข้ารหัสหรือการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารลับผู้ดำเนินการอาจไม่ใช้รหัสลับได้ แต่เพื่อนดิฉันคนนี้แม้จะเข้าใจผิดๆมานานแต่ก็ไม่สายเกินไปเพราะเราได้มานั่งคุยกันเอาแนวข้อสอบมาถามตอบกันนั่นเอง พอเราไม่เห็นด้วยหรือคำตอบมันไม่ตรงกับที่เราอ่านเจอก็แย้งได้และเราก็ช่วยกันเปิดตัวบทหาเพื่อเอาคำตอบที่ถูกต้อง และทำแบบนี้เราจะจำได้ดีมากๆด้วยนะคะ